ทำไม “เลิกบุหรี่” ไม่ได้ซักที?

ทำไมการเลิกบุหรี่ถึงยาก

ทำไมการเลิกบุหรี่ถึงยาก?

การเลิกบุหรี่ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจาก “สารนิโคติน” ในบุหรี่ทำให้ผู้สูบรู้สึกดีและพึงพอใจ เมื่อร่างกายขาดนิโคติน จะเกิดอาการถอนยา เช่น กระสับกระส่าย ง่วงเหงาหาวนอน หรือหงุดหงิดง่าย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนล้มเลิกความตั้งใจ แม้แต่ในผู้ป่วยโรคหัวใจที่ตระหนักถึงผลเสียของบุหรี่ ก็ยังคงสูบต่อเนื่อง นั่นแสดงให้เห็นว่า การเลิกบุหรี่ต้องการทั้งแรงจูงใจและเทคนิคที่เหมาะสม

ทำไมบุหรี่ติดง่าย แต่เลิกยาก

บุหรี่ไม่ใช่แค่เรื่องของพฤติกรรม แต่เป็น “การเสพติด” ทางสมอง สารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่เป็นตัวการสำคัญ เมื่อสูบบุหรี่ สารนี้จะเข้าสู่สมองอย่างรวดเร็วและกระตุ้นให้หลั่ง “โดปามีน” (Dopamine) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้รู้สึกสุขใจและผ่อนคลาย

ทำไมบุหรี่ติดง่าย แต่เลิกยาก?

ความสุขนี้แม้จะเกิดขึ้นชั่วคราว แต่กลับสร้างวงจรที่ยากจะหลุดพ้น เมื่อระดับโดปามีนลดลง ผู้สูบจะรู้สึกกระวนกระวาย และเกิด “ความอยาก” สูบอีกครั้ง เป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคนติดบุหรี่โดยไม่รู้ตัว และเมื่อต้องหยุดสูบก็เผชิญกับความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ

บุหรี่จึงเป็นกับดักที่สร้างความสุขสั้นๆ แต่พันธนาการระยะยาว

บุหรี่…ติดง่าย แต่เลิกยาก
ทำไมการเลิกบุหรี่จึงเป็นเรื่องยาก? สาเหตุก็เพราะบุหรี่นั้นไม่ต่างอะไรกับยาเสพติด โดยการติดบุหรี่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ด้านหลักๆ ด้วยกันคือ การติดทางจิตใจซึ่งมักเกิดจากความเคยชินและความเชื่อที่ว่าบุหรี่ช่วยให้เกิดความสบายคลายเครียดได้ กับการติดทางร่างกายซึ่งก็คือการติดนิโคตินที่เป็นสารเสพติดในบุหรี่นั่นเอง

การติดบุหรี่แบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก นั่นก็คือ
1. จิตใจ
ความเคยชินและความเชื่อว่าบุหรี่ช่วยลดเครียด ถูกฝังแน่นไปด้วยสภาพจิตใจ
2. ร่างกาย การเสพติดนิโคติน ซึ่งออกฤทธิ์เร็วภายใน 6 วินาที ทำให้รู้สึกผ่อนคลายชั่วคราว

เมื่อหยุดสูบ ผู้สูบมักเผชิญกับ อาการขาดนิโคติน เช่น หงุดหงิด สมาธิลดลง นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ และน้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้การเลิกเป็นเรื่องยาก การเลิกบุหรี่ด้วยตัวเองอาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่สามารถทำได้หากมีความตั้งใจจริงและการวางแผนที่ดี นี่คือคำแนะนำแบบละเอียดเพื่อช่วยให้คุณเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง

วิธีเลิกบุหรี่ที่ได้ผล

หักดิบ หยุดสูบทันที แม้จะยาก แต่เหมาะสำหรับผู้ที่มีวินัยสูง การเลิกบุหรี่แบบหักดิบอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยความมุ่งมั่นและการสนับสนุนจากคนรอบข้าง คุณสามารถเอาชนะมันได้ จำไว้ว่าทุกครั้งที่คุณไม่หยิบบุหรี่ขึ้นมา คุณกำลังสร้างอนาคตที่สดใสและสุขภาพที่ดีกว่าให้กับตัวเองและคนที่คุณรัก เริ่มต้นวันนี้ เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า!

พฤติกรรมบำบัด ปรับเปลี่ยนกิจวัตร หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น สถานที่หรือกลุ่มเพื่อนที่สูบบุหรี่

การใช้ตัวช่วยเลิกสูบ เช่น หมากฝรั่งนิโคติน แผ่นแปะนิโคติน หรือยาชนิดเม็ด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ แต่อีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่อันตรายคือ ลูกอมสมุนไพรที่ช่วยเลิกสูบ เช่น ลูกอมติณณ์

5 เทคนิคเลิกบุหรี่

5เทคนิคเลิกบุหรี่
5เทคนิคเลิกบุหรี่

1. สร้างแรงจูงใจที่ชัดเจน
เริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน คุณต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า “ทำไมฉันถึงอยากเลิกบุหรี่?”

ตัวอย่างแรงจูงใจ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อลูกหลาน เพื่อประหยัดเงิน หรือเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง
เขียนแรงจูงใจเหล่านี้ไว้ในที่ที่มองเห็นได้ชัด เช่น กระดาษโน้ตบนกระจก โต๊ะทำงาน หรือในรถยนต์ เพื่อกระตุ้นให้ตัวเองมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย

2.ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัว
การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้คิดถึงบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ยาก

หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น หยุดเข้าร่วมกิจกรรมหรือสังคมที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น เวลาพักเบรกกับเพื่อนที่สูบบุหรี่

กำจัดสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ ทิ้งบุหรี่ ไฟแช็ก และที่เขี่ยบุหรี่ทั้งหมด เพื่อลดโอกาสที่จะหยิบขึ้นมาใช้อีก

3. ให้รางวัลตัวเอง
เมื่อสามารถลดหรือหยุดบุหรี่ได้ในระยะหนึ่ง ให้รางวัลตัวเองเพื่อสร้างกำลังใจ

ตัวอย่างรางวัล ซื้ออาหารที่ชอบ ไปเที่ยว หรือซื้อสิ่งของที่เคยอยากได้ เช่น เสื้อผ้าหรือรองเท้าใหม่
การให้รางวัลช่วยเสริมแรงจูงใจและทำให้คุณเห็นความสำเร็จของตัวเองในทุกก้าว

4. ตั้งสติเมื่อรู้สึกท้อแท้
เมื่อเกิดอาการถอนนิโคติน หรือพบคนรอบข้างสูบบุหรี่ อาจทำให้รู้สึกอยากล้มเลิกเป้าหมาย

กลับไปอ่านแรงจูงใจในข้อ 1 เพื่อฟื้นพลังใจ
คิดถึงผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับหลังเลิกบุหรี่ เช่น สุขภาพที่ดีขึ้นหรือเงินที่ประหยัดได้

5. เบี่ยงเบนความสนใจเพื่อลดความอยาก
เวลาที่รู้สึกอยากสูบบุหรี่ ให้หากิจกรรมอื่นทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ

กิจกรรมทดแทน: ดื่มน้ำ เคี้ยวหมากฝรั่ง ทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม หรือออกกำลังกายเบาๆ การดื่มน้ำเยอะๆ และการเคลื่อนไหวร่างกายช่วยลดความอยากและอาการถอนนิโคตินได้

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ “บุหรี่” ที่ควรตระหนัก

ในแต่ละปีมีคนไทยจำนวนมากถึง 42,000 – 52,000 คนเสียชีวิตด้วยโรคที่เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคถุงลมโป่งพอง ทั้งที่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคลงได้อย่างมากเพียงแค่เลิกสูบบุหรี่เท่านั้น

จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 พบว่า ในจํานวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 54.8 ล้านคน เป็นผู้ที่สูบบุหรี่มากถึง 11.4 ล้านคนหรือร้อยละ 20.7 โดยสูบเป็นประจํา 10 ล้านคน และสูบนาน ๆ ครั้ง 1.4 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ที่มีผู้สูบบุหรี่อยู่ร้อยละ 19.9

มีการประเมินกันว่าผู้สูบบุหรี่เหล่านี้จำนวนถึง 1 ใน 4 จะเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในอีก 10-20 ปีถัดไป เพราะควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด โดยเป็นสารพิษมากกว่า 250 ชนิด และเป็นสารก่อมะเร็งมากกว่า 50 ชนิด

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่

เลิกบุหรี่แล้วจะเสียชีวิต
การเลิกบุหรี่ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย อาการถอนยา เช่น หงุดหงิด หรือกระสับกระส่าย จะคงอยู่เพียง 1-2 สัปดาห์แรก จากนั้นร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัว

เลิกบุหรี่แล้วความเสี่ยงโรคหัวใจจะหายไปทันที
ถึงแม้การเลิกบุหรี่จะลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ แต่จะต้องเลิกอย่างถาวรเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ความเสี่ยงจึงจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานๆ สะสมหลายๆปี ทั้งปริมาณมาก หรือน้อยก็ตาม ล้วนเพิ่มความเสี่ยงมากกมายในเกิดโรคร้ายแรง ยังไม่พอเท่านี้ ควันบุหรี่ ยังเป็นอันตรายต่อคนรอบข้างด้วย หากว่าผู้สูบมีความตั้งใจที่จะเลิกสูบ สามารถหาข้อมูลได้ที่ วิธีเลิกบุหรี่ ในคลังข้อมูลของ Tinn Candy ผู้ผลิต ลูกอมสมุนไพรช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็น ลูกอมเลิกบุหรี่ ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ในประเทศ จาก ผู้เลิกสูบมากกว่า 50,000 รายแล้ว